กองสวัสดิการสังคม

การให้บริการประชาชนกองสวัสดิการสังคม


กองสวัสดิการสังคม
การให้บริการประชาชนกองสวัสดิการสังคม

 

การให้บริการประชาชนกองสวัสดิการสังคม

 

1. การลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์

2. การขอลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยความพิการ

3. การลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

4. การลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ 2561

 

การลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์

 

หลักเกณฑ์

          ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

1. เป็นผู้ป่วยเอดส์ที่แพทย์ได้รับรองและทำการวินิจฉัยแล้ว

2. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองปทุมธานี

 

วิธีการ 

          ผู้ป่วยเอดส์ยื่นคำขอตามแบบพร้อมเอกสารหลักฐานต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อุปการะมาดำเนินการก็ได้  โดยสามารถลงทะเบียนได้ตลอดทั้งปีและมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ในเดือนถัดไป

 

รายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ

          โดยมีหลักฐานพร้อมสำเนาที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องทุกฉบับ  ดังต่อไปนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนา จำนวน  1  ชุด

2. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา จำนวน  1  ชุด

3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร พร้อมสำเนา  จำนวน  1  ชุด

4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน)   จำนวน  1  ชุด

5. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายพร้อมสำเนาของผู้รับมอบอำนาจ  (กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน)  จำนวน  1  ชุด

6. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนาของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ผ่านธนาคารของผู้รับมอบอำนาจ)  จำนวน  1  ชุด                            

 

การลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยความพิการ

 

หลักเกณฑ์

          คนพิการซึ่งจะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยความพิการ  ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม  ดังต่อไปนี้

1. มีสัญชาติไทย

2. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี

3. มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการฯ

4. ไม่เป็นบุคคลซี่งอยู่ในอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ

 

วิธีการ

          ให้คนพิการที่ได้จดทะเบียนคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยความพิการ ด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา  ณ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด  โดยสามารถลงทะเบียนได้ตลอดทั้งปีและมีสิทธิรับเงินเบี้ยความพิการในเดือนถัดไป

 

รายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ

          โดยมีหลักฐานพร้อมสำเนาที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยความพิการลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องทุกฉบับ  ดังต่อไปนี้

1. บัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน  1  ชุด

2. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา  จำนวน  1  ชุด

3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย ประเภทออมทรัพย์ (เฉพาะสาขาในกรุงเทพและปริมณฑลเท่านั้น) พร้อมสำเนา  จำนวน  1  ชุด

4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน)  จำนวน  1  ชุด

5. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนาของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน) จำนวน  1  ชุด

6. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนาของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยความพิการประสงค์ขอรับเงินเบี้ยความพิการผ่านทางธนาคารของผู้รับมอบอำนาจ) จำนวน  1  ชุด                 

 

การลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

 

หลักเกณฑ์

1. มีสัญชาติไทย

2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตพื้นที่ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี

3. มีอายุครบ 60  ปีบริบูรณ์  ในปีงบประมาณ  พ.ศ. 2562  โดยนับจนถึงวันที่  30  กันยายน  2561 (ผู้ที่เกิดก่อนวันที่  1  ตุลาคม  2502) ในกรณีที่ในทะเบียนราษฎรไม่ปรากฏวันที่  เดือนเกิด  ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดในวันที่  1  มกราคมของปีนั้น

4. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ   รัฐวิสาหกิจ  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ  เบี้ยหวัด  บำนาญพิเศษ  หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน  ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้ได้รับเงินเดือน  ค่าตอบแทน  รายได้ประจำ  หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ  ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2548

 

วิธีการ

          ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา  ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด  ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปีและจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณถัดไป

 

รายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ

          โดยมีหลักฐานพร้อมสำเนาที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ดังต่อไปนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนา จำนวน  1  ชุด

2. ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา จำนวน  1  ชุด

3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย ประเภทออมทรัพย์ (เฉพาะสาขาในกรุงเทพและปริมณฑลเท่านั้น) พร้อมสำเนา  จำนวน  1  ชุด

4. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน)  จำนวน  1  ชุด

5. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนาของผู้รับมอบอำนาจ  (กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน) จำนวน  1  ชุด

6. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย ประเภทออมทรัพย์ พร้อมสำเนาของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านทางธนาคารของผู้รับมอบอำนาจ)  จำนวน  1  ชุด                            

 

การลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด  ประจำปีงบประมาณ 2561

 

หลักเกณฑ์

1. เป็นหญิงตั้งครรภ์ มารดาของเด็กแรกเกิดหรือผู้ปกครองของเด็กแรนเกิด มีสัญชาติไทยอยู่ในครัวเรือนยากจนหรือเสี่ยงต่อความยากจน  คือมีรายได้รวมของครัวเรือนทั้งหมดหารเฉลี่ยสมาชิกในครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยไม่เกิน  3,000  บาท ต่อเดือนต่อคน หรือ ไม่เกิน 36,000 บาทต่อคนต่อปี

2. กรณีเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด แต่ไม่เป็นบุคคลที่มีสิทธิได้รับสวัสดิการจากรัฐตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการจากรัฐตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐต้องแสดงข้อมูลตามแบบรับรองสถานะครัวเรือน (ดร.02 ส่วนที่ 1 : ผู้ลงทะเบียน) เพิ่มเติม  ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่  31  มีนาคม  2561

3. กรณีหญิงตั้งครรภ์หรือมารดาเด็กแรกเกิดเป็นคนต่างด้าว หรือบุคคลไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร์ ภายหลังเด็กเกิดให้ผู้ปกครองของเด็กแรกเกิดเป็นผู้ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

4. กรณีผู้ลงทะเบียนได้ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึง กันยายน 2560  ให้ถือว่าเป็นผู้ได้ลงทะเบียนขอรับสิทธิแล้ว

5. กรณีเด็กที่เกิดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ถึงกันยายน 2560 แต่มารดา บิดาหรือผู้ปกครอง มิได้ลงทะเบียนขอรับสิทธิเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด  โดยรับเงินรายละ 600  บาท ต่อเดือน  ตั้งแต่เดือนที่ลงทะเบียนจนถึงเด็กอายุครบ  3  ปี

6. เด็กที่เกิดในปีงบประมาณ 2561 (ตั้งแต่วันที่ 1  ตุลาคม  2560 ถึง 30  กันยายน  2561)  และมารดา บิดาหรือผู้ปกครองยื่นลงทะเบียนขอรับสิทธิเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด  ภายในวันที่ 30  กันยายน  2561  จะได้รับเงินรายละ 600  บาท ต่อเดือน ตั้งแต่เดือนที่เด็กเกิดจนเด็กอายุครบ  3  ปี

          ทั้งนี้  เด็กต้องมีสัญชาติไทย  โดยบิดาและมารดา หรือโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย  ซึ่งอยู่ในครัวเรือนยากจนหรือครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน  และอาจเป็นผู้ได้รับเงินสงเคราะห์เป็นครั้งคราวหรือเบี้ยความพิการ  หรือเงินสงเคราะห์เป็นครั้งคราวหรือเบี้ยความพิการหรือเงินสงเคราะห์บุตรจากกองทุนประกันสังคม  ทั้งนี้ต้องไม่เป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตรจากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ  หรืออยู่ในความอุปการะของหน่วยงานของรัฐ

 

วิธีการ

          ผู้มีคุณสมบัติข้างต้นให้ยื่นลงทะเบียนขอรับสิทธิได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่

 

เอกสารหลักฐานประกอบการลงทะเบียน  โดยเตรียมหลักฐาน  ได้แก่  

1. แบบลงทะเบียน (ดร.01) จำนวน  1  ชุด

2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)  จำนวน  1  ชุด

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของหญิงตั้งครรภ์ หรือมารดาของเด็กแรกเกิด หรือบิดาของเด็กแรกเกิน หรือผู้ปกครองของเด็กแรกเกิดแล้วแต่กรณี  จำนวน  1  ชุด

4. สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี) จำนวน 1  ชุด

5. สำเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (หน้า 1) จำนวน  1  ชุด

6. สำเนาสูติบัตรเด็ก 1 ฉบับ (กรณียื่นหลังคลอด) จำนวน  1  ชุด

7. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก จำนวน 1  ชุด

8. สำเนาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 1  ชุด